บทความเด่น - สุขภาพ ชะลอวัย ความงาม

สารต้านอนุมูลอิสระ : ศาสตร์ป้องกันก่อนป่วย

อนุมูลอิสระ (Free-Radical) สร้างความเสียหายให้กับร่างกายและทำลายภูมิคุ้มกัน กระบวนการการสร้างความเสียหายให้กับเซลล์ยังก่อให้เกิดปฏิกิริยาการอักเสบอย่างต่อเนื่องอันเป็นสาเหตุของโรคแห่งความเสื่อม เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง เบาหวาน ความดัน ไขมัน โรคอ้วน และโรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ

คนเราได้รับอนุมูลอิสระจากชีวิตประจำวัน (Life-Style) เช่น อายุที่มากขึ้น การทำงานหนัก การขาดการพักผ่อน เครียด นอนไม่พอ ควันพิษและมลภาวะ บุหรี่ แอลกอฮอล์ อาหารแปรรูปและอาหารทำลายสุขภาพต่าง ๆ

เมื่อมีอนุมูลอิสระมาก วิธีเดียวที่จะสามารถจัดการได้ นอกจากปรับนิสัยการดื่มน้ำและการรับประทานอาหารให้ดีแล้วก็คือ การเติมสารต่อต้านอนุมูลอิสระ (Anti-Oxidants) เพื่อให้เข้าไปจัดการ ซึ่งต้องทำไปพร้อม ๆ กับการสร้างสมดุลวิตามินและเกลือแร่ให้เพียงพอและเหมาะสมต่อการทำงานโดยการจับกับอนุมูลอิสระและพาขับทิ้งออกนอกร่างกาย ซึ่งเป็นการช่วยฟื้นคืนระบบการทำงานของร่างกายและระบบภูมิคุ้มกันที่มีประสิทธิภาพได้ต่อไป ผลที่เกิดขึ้นคือ สุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่เจ็บป่วยง่ายและไม่เกิดโรคแห่งความเสื่อม

สารต้านอนุมูลอิสระป้องกันและกำจัดอนุมูลอิสระได้อย่างไร?

  • มีงานวิจัยมากมายบ่งชี้ว่า สารต้านอนุมูลอิสระสามารถลดความเสี่ยงต่อโรคหลายโรค โดยเฉพาะโรคเรื้อรังที่สัมพันธ์กับอาหาร เช่น โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคสมอง (เช่น อัลไซเมอร์) เป็นต้น (สสส, 2561) รวมทั้งช่วยชะลอกระบวนการบางขั้นตอนที่ทำให้เกิดความแก่
  • โดยปกติ ร่างกายสามารถกำจัดอนุมูลอิสระก่อนที่มันจะทำอันตราย แต่ถ้ามีการสร้างอนุมูลอิสระเร็วหรือมากเกินกว่าร่างกายจะกำจัดทัน จะสร้างความเสียหายต่อเซลล์และเนื้อเยื่อ ซึ่งส่งผลกระทบทำลายสุขภาพตามมา
  • สารต้านอนุมูลอิสระลดความเสียหายที่เกิดจากอนุมูลอิสระได้ 2 ทาง คือ ลดการสร้างอนุมูลอิสระในร่างกาย และลดอันตรายที่เกิดจากอนุมูลอิสระ
  • แม้ว่าสารต้านอนุมูลอิสระไม่สามารถแก้ไขความเสียหายที่เกิดขึ้นแล้ว แต่สามารถชะลอให้ความเสียหายเกิดช้าลงได้ โดยเฉพาะโรคเรื้อรังซึ่งเป็นผลลัพธ์สะสมที่เกิดจากเซลล์และเนื้อเยื่อในร่างกายถูกทำอันตรายและเสียหายมาเป็นเวลาหลายปี เห็นได้จากผลการรวบรวมความชุกของโรคว่า โรคไม่ติดต่อเรื้อรังพบมากในผู้ใหญ่วัยกลางคนและผู้สูงอายุ ดังนั้น บุคคลทุกเพศทุกวัยจึงควรได้รับสารต้านอนุมูลอิสระให้พอเพียงต่อความต้องการในแต่ละวัน เพื่อให้เกิดความสมดุลในร่างกายระหว่างสารต้านอนุมูลอิสระ และอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้น (สสส, 2561)

สารต้านอนุมูลอิสระได้แก่อะไรบ้างและมีในอาหารประเภทใด?

  • สารต้านอนุมูลอิสระหรือแอนติออกซิแดนซ์ ได้แก่ วิตามินซี วิตามินอี ซีลีเนียม บีตาแคโรทีน วิตามินเอ พฤกษาเคมีต่าง ๆ (phytochemicals) เช่น สารประกอบฟีโนลิก (polyphenol) และ ไอโซฟลาโวน (isoflavones) เป็นต้น
  • เพื่อให้ร่างกายได้รับสารต้านอนุมูลอิสระเพียงพอกับความต้องการ เราควรกินผักผลไม้สีเข้มเป็นประจำโดยล้างให้สะอาดทุกครั้ง นอกจากจะได้รับสารต้านอนุมูลอิสระแล้ว ยังจะได้รับกากใยอาหารมากซึ่งช่วยในการขับถ่าย เพิ่มมวลอุจจาระ ช่วยป้องกันภาวะท้องผูก ช่วยนำโคเลสเตอรอล ของเสียและน้ำตาลออกจากร่างกาย เร่งการนำสารพิษที่อาจเป็นสาเหตุของมะเร็งบางชนิดออกจากร่างกายได้เร็วขึ้น

ข้อควรปฏิบัติในการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทย

  • รับประทานผัก ผลไม้ ถั่วและธัญพืชเป็นประจำ
  • ลดการกินไขมัน โดยไม่ให้เกินร้อยละ 30 ของพลังงานที่ได้รับต่อวัน ลดไขมันจากสัตว์ หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูปที่มีกรดไขมันทรานส์ (trans fatty acid) เช่น มาร์การีน เนยขาว โดนัท มันฝรั่งทอด เลือกใช้น้ำมันที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (monounsaturated fatty acid) สูง เช่น น้ำมันรำข้าว น้ำมันงา น้ำมันมะกอก
  • รับประทานอาหารให้หลากหลาย เช่น ปลา ถั่วเมล็ดแห้ง เต้าหู้
  • ลดอาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูง ไม่ควรกินเกินวันละ 300 มิลลิกรัม เลี่ยงเนื้อแดง
  • รับประทานคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนแทนข้าวขาว เช่น ข้าวกล้อง ข้าวไรซ์เบอรี่ ธัญพืช
  • ลดอาหารเค็ม และดื่มน้ำสะอาด 2-3 ลิตร/วัน
  • รักษาน้ำหนักตัวให้เหมาะสม
  • ไม่ควรงดอาหารมื้อใดมื้อหนึ่ง
  • งดสูบบุหรี่และลดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

สุดยอดสารต้านอนุมูลอิสระที่ควรรู้

1. วิตามินซี (Vitamin C)

มีความสามารถสูงและไวในการปกป้องร่างกายจากการทำลายของสารอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นในระหว่างการเผาผลาญของเซลล์ปกติ และจากการได้รับสารพิษหรือมลพิษต่าง ๆ และเมื่อร่างกายเกิดการติดเชื้อและมีความเครียด ปริมาณวิตามินซีจะถูกดึงไปใช้เป็นจำนวนมากและรวดเร็ว จึงพบระดับวิตามินซีในเลือดลดลง วิตามินซียังช่วยในการผลิตเม็ดเลือดและเสริมสร้างการทำงานของเม็ดเลือดขาวในการต่อสู้กับสิ่งแปลกปลอม ทั้งยังช่วยลดความรุนแรงและระยะเวลาในการติดเชื้อโรคระบบทางเดินหายใจ เช่น วัณโรคปอดและปอดอักเสบ

2. วิตามินอี (Vitamin E)

เป็นต้านอนุมูลอิสระละลายในไขมัน มีความสำคัญต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน เป็นองค์ประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ทั้งหมดภายในร่างกาย รวมถึงเซลล์ของระบบภูมิคุ้มกันที่อุดมไปด้วยกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน ช่วยเพิ่มการทำงานให้กับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย การทำงานร่วมกันกับสารอาหารประเภทต่อต้านอนุมูลอิสระยังช่วยลดอาการไม่พึงประสงค์ของกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนในระบบภูมิคุ้มกันอีกด้วย

3. กรดแอลฟาไลโปอิก (Alpha Lipoic Acid)

เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติในร่างกายมนุษย์ และยังพบได้ในอาหารและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร กรดแอลฟาไลโปอิกช่วยควบคุมและเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้ทำงานได้ดีขึ้นโดยยับยั้งเซลล์ภูมิคุ้มกันที่ก่อให้เกิดการอักเสบ รวมถึงยับยั้งการผลิตโปรตีนชนิดหนึ่งที่ส่งผลต่อการอักเสบ (Cytokine protein TNF-α) นอกจากนี้ ยังช่วยเสริมสร้างการทำงานของสารต้านอนุมูลอิสระจากธรรมชาติและจากอาหาร เช่น กลูต้าไธโอน โคเอ็นไซม์คิวเท็น และวิตามินซี เป็นต้น ซึ่งการทำงานเหล่านี้ จะช่วยรักษาหรือฟื้นฟูความผิดปกติในระบบภูมิคุ้มกันที่นำไปสู่ภาวะการอักเสบเรื้อรังและก่อโรค

4. แอสตาแซนธิน (Astaxanthin)

มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบที่สูงสุด ด้วยพลังการต้านอนุมูลอิสระที่สูงกว่าวิตามินอี 550 เท่าและสูงกว่าวิตามินซีถึง 6,000 เท่า ช่วยส่งเสริมการเพิ่มจำนวนเซลล์ภูมิคุ้มกันชนิดได้รับมาภายหลัง ช่วยเพิ่มการผลิตไซโตไคน์และแอนติบอดี้

จึงเป็นที่ยอมรับว่า สารต้านอนุมูลอิสระจากธรรมชาติ มีบทบาทสำคัญในการฟื้นคืนภาวะสุขภาพ เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงและช่วยป้องกันโรคได้จริง และเนื่องจาก “สุขภาพคือองค์รวม (Holistic Health)” การดูแลสมดุลสุขภาพจึงไม่ใช่แค่เพียงการเติมสารต้านอนุมูลอิสระเข้าสู่ร่างกายเพียงชนิดใดชนิดหนึ่งหรือหลายชนิด แต่ต้องอาศัยการปรับพฤติกรรมสุขภาพโดยรวมในชีวิตประจำวันให้อยู่ในสมดุลที่ดีทุก ๆ เรื่อง ไม่ว่าจะเป็น การทำงาน การจัดการกับความเครียดและปัญหาต่าง ๆ การปรับสมดุลอาหาร การพักผ่อนนอนหลับและการออกกำลังกาย ทีมแพทย์มีดีคลินิกจึงใส่ใจและให้เวลากับคุณมากพอเพื่อ “สุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน” เพราะสุขภาพของคุณ…เราออกแบบได้


ป้องกันก่อนป่วย…ด้วยศาสตร์ชะลอวัย

ด้วยรักจากใจ
ทีมแพทย์มีดีคลินิก

Related Posts